วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

        ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสเซอรี่
     ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หมายถึง ความพร้อมเกี่ยวกับการสังเกตุ การเปรียบเทียบ รูปร่าง การจำแนก น้ำหนัก สี ปริมาตร ความสูง การเรียงลำดับ การนับ ซึ่งสามารถเรียนรู้โดยการกระทำ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ โดยควรจะเริ่มจากง่ายไปยากและจากสิ่งใกล้ตัวเด็ก เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปสู่สิ่งนามธรรม เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจ กระตือรือร้น อยากค้นหา อยากเรียนรู้
     การจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสเซอรี่  เป็นการจัดประสบการณ์ที่ให้อิสระแก่ผู้เรียน การที่ให้เด็กกระทำอะไรด้วยตนเองและซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมจะทำให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่เขาต้องการการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือกลุ่มชีวิตประจำวัน กลุ่มประสาทรับรู้ กลุ่มภาษา และกลุ่มคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้กลุ่มคณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่เป็นการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่เหมาะกับเด็กที่ช่วยให้เด็กได้เริ่มเรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมก่อนแล้วจึงนำไปสู่การเรียนรู้สิ่งที่เป็นนามธรรมด้วยการฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ผ่านการปฏิบัติจริง เช่น การหยิบ การจับ สัมผัส สิ่งต่างๆ โดยใช้มือ ได้เห็นขนาด รูปร่าง

ความมุ่งหมายของการวิจัย
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มี จุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของ
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่โดยมีจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้
1. เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด
ประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับ
การจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่


ความสำคัญของการวิจัย
          ผลของการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ จะเป็นแนวทางสำหรับครูปฐมวัยและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยหรือผู้ที่สนใจการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ ตระหนักถึงความสำคัญและการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่และเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการการวิจัย
          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 4-5 ปี ซึ่งศึกษาอยู่ใน
ชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนพระแม่มารี กรุงเทพมหานคร สังกัด
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาจาก
การเลือกแบบเจาะจง จากห้องเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ห้องมอนเตสซอรี่  ซึ่งเป็นห้องที่ผู้วิจัยเป็นผู้สอน





กิจกรรมกลุ่มชีวิตประจำวัน จัดแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มดังนี้ คือ 

1. กิจกรรมการเคลื่อนไหวเบื้องต้น  คือกิจกรรมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกาย การเดิน การถืออุปกรณ์ เช่น การเดินในห้องเรียน การเปิด- ปิดประตูการม้วน-คลี่เสื่อ การยกโต๊ะ-เก้าอี้ การยกถาดอุปกรณ์ การพับ การตัก การเท เป็นต้น
2. การดูแลตนเอง  คือ กิจกรรมประเภทที่ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่พบเห็นเป็นประจำ และเกี่ยวข้องกับตัวของเด็ก ได้แก่ชุดกรอบไม้แต่งตัว เช่น การติดกระดุม การรูดซิป การคาดเข็มขัด การผูกเชือก ผูกโบ เป็นต้น การขัดรองเท้า การล้าง
มือ การเท การตัก การหัน่ ผักผลไม้ เป็นต้น
3. การดูแลสิ่่งแวดล้อม  คือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งหวังให้เด็กมีส่วนร่วมในการ ที่จะรักษา และดูแล รักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การปัดฝุ่นโต๊ะ การขัดโต๊ะ การล้างโต๊ะ การขัดโลหะ การกวาด การล้างกระดานดำ เป็นต้น
4. ชีววิทยาในกิจกรรมชีวิตประจำวัน ชีววิทยาคือการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของสิ่งที่มีชีวิต การมีชีวิตอยู่ การเจริญ เติบโต การดำรงชีวิตของสิ่่งมีชีวิตประเภทต่างๆ องค์ประกอบของการเจริญเติบโต เช่น ที่อยู่อาศัย วงจรชีวิต การอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ และการต่อสู้เพื่อการดำรงชีวิต สำหรับชีววิทยาสำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี ไม่ได้มุ่งหวังให้เด็กมีความรู้สึกมากมาย และไม่ได้จัดแยกเป็นรายวิชา ครูผู้สอนก็ไม่มีความจำเป็นต้องมีความลึกซึ้งในศาสตร์เหล่านี้ ในกรณีที่เด็กมาถามครูเกี่ยวกับชื่อของใบไม้ ดอกไม้ แมลง หรือสัตว์ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เด็กสนใจ ครูอาจจะไปค้นหาคำตอบมาอธิบายให้เด็กทราบได้ในภายหลัง
5. ความสัมพันธ์ทางสังคม  คือ กิจกรรมทางด้านสังคมเกี่ยวกับการมีกิริยามารยาทที่เหมาะสมและการให้ความช่วยเหลือและบริการผู้อื่น เช่น กิจกรรมมารยาทแลคุณสมบัติผู้ดี และการต้อนรับแขก เป็นต้น
6. การควบคุมการเคลื่อนไหว  เช่น การเดินจงกรม จังหวะและการเคลื่อนไหว  และเกมเงียบ เพื่อฝึกความสมดุลของร่างกายจากการเคลื่อนไหว เป็นต้น


 กลุ่มประสาทรับรู้
          จุดมุ่งหมายของกลุ่มกิจกรรมนี้ เพื่อฝึกประสาทสัมผัสของเด็กให้จิตมุ่งไปที่คุณสมบัติของวัตถุที่ปรากฏเด่นชัด การฝึกให้รู้จักสังเกตรายละเอียดของสิ่งต่างๆ เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการอ่าน มอนเตสซอรี่เชื่อว่า เด็กควรมีความสามารถอย่างดีในการสังเกตและใช้ตาแยกแยะความแตกต่างของสิ่งของได้ดีก่อนที่จะเรียนอ่านได้ นอกจากนั้นกิจกรรมกลุ่มนั้นยังช่วยเพิ่มความสามารถของเด็กในการคิด การเห็นความแตกต่าง จุดเด่น การรวมกลุ่ม และการจัดระเบียบ หรือลา ดับ ตลอดจนช่วยเตรียมเด็กให้พร้อมเมื่อถึงช่วงเวลาที่เด็กจะเรียนการเขียนการอ่าน กิจกรรมในกลุ่มนั้นเป็นกิจกรรมเริ่มแรกของกระบวนการเตรียมการเพื่อการเขียน การอ่าน อุปกรณ์ที่ใช้ ในกลุ่มนี้เป็นอุปกรณ์เพื่อฝึกการสังเกตความแตกต่างโดยใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ได้แก่หู ตา จมูก ลิ้น มือ โดยสังเกตความกว้างความยาว ความสูง ขนาด สี เสียง รส เป็นต้น อุปกรณ์ที่ใช้ในกลุ่ มน้ปี ระกอบด้วย หอชมพู บันไดน้าตาล พลองแดง กระบอกพิมพ์



กลุ่มภาษา (Language)
        ภาษาเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของวัฒนธรรม เด็กจะค่อยๆ ซึมซับภาษาตามธรรมชาติโดยไม่มีความจำเป็นต้องมีการเรียนการสอนในช่วงอายุสามปีแรกของชีวิต เด็กทารกทุกคนสามารถ เข้าใจภาษามนุษย์ได้ถ้าหากเด็กทารกมีความสัมพันธ์ทางสังคมกับสภาพแวดล้อมของมนุษย์ เพราะแนวโน้มความเป็นมนุษย์ในเรื่องภาษาและการสื่อสารทำให้เกิดการใช้ภาษาของเด็ก งานในกลุ่มภาษาเป็นงานที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับงานในกลุ่มอื่น ภาษาไม่มีความเป็นไปได้ของทุกแบบฝึกที่วางอยู่บนชั้นสื่ออุปกรณ์การเรียนรู้ในกลุ่มงานนั้น ครูต้องเตรียมเอง
 กลุ่มคณิตศาสตร์ (Mathematic)
          เฮลฟริช (Helfrich. 2007) กล่าวว่า คณิตศาสตร์คือพื้นฐานของสิ่งต่างๆ และเป็นฐานของจินตนาการทั้งหมด รูปร่าง รูปแบบ ระบบ วัฏจักร เส้น มุม เป็นสิ่งที่มีอยู่ในสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก น้ำขึ้นน้ำลงและกลางวันกลางคืน ในโลกของเราประกอบไปด้วยสิ่งต่างๆ ที่ไร้ขอบเขต ในส่วนของปริมาณ รูปลักษณะ การเคลื่อนไหว ขนาด และมิติธรรมชาติได้เสนอสิ่งที่เป็นเบื้องต้นของคณิตศาสตร์ ในการจัดประสบการณ์แนวมอนเตสซอรี่ คณิตศาสตร์ไม่ใช่เฉพาะตัวเลขเท่านั้น แต่เป็นเรื่องราวที่กว้างใหญ่ของทุกสิ่งทุกอย่าง
         จิตคณิตศาสตร์ (Mathematical Mind) มอนเตสซอรี่ ได้คา ว่า “จิตคณิตศาสตร์” มาจากปาสคาล (Pascal) ซึ่งเป็นนกั ปรัชญาชาวฝรั่งเศส ปาสคาลกล่าวว่า จิตของมนุษย์ คือจิตคณิตศาสตร์โดยธรรมชาติ ปาสคาลเชื่อว่าความรู้และข้อมูลต่างๆ มาจากการสังเกตอย่างถูกต้อง จิตคณิตศาสตร์คือการรวมความสามารถที่หลากหลายเข้าด้วยกันคือ
1. ความอยากรู้อยากเห็นที่นาไปสู่การค้นคว้าสำรวจ
2. ความสนใจที่มีต่อโลกต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว เริ่มมีขึ้นตั้งแต่แรกเกิด ความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาตินี้ เจริญงอกงามตามธรรมชาติในแต่ละบุคคล
3. ความสามารถทางสติปัญญาอย่างมีเหตุผลและสามารถตัดสินใจได้
4. ความสามารถสร้างระบบออกจากความสับสนวุ่นวายได้
5. ภาษาที่ช่วยให้จัดระบบและแยกแยะข้อมูลต่างๆ
6. การเคลื่อนไหวอย่างแม่นยำ ความสามารถทางกายภาพและทางสติปัญญาที่จะทำ ให้ถูกต้องจากการทำซ้า และสามารถใช้การทำซ้ำ ในชีวิตประจำวันได้
7. คณิตศาสตร์แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการประสานสัมพันธ์กันคณิตศาสตร์ช่วยทำให้เรามีบางสิ่ง สมบูรณ์ด้วยการทา บางสิ่งบางอย่างซ้า จนบรรลุถึงความสำเร็จโดยสมบูรณ์
8. ความสามารถในการรับรู้โดยนามธรรมในประเด็นต่างๆ ข้างต้น 6 ประการจนสามารถสร้างรูปแบบความคิดที่เป็นรูปธรรม